หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เป็นรูปเป็นร่าง

หลังจากที่เราได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถตามไปดูกันได้ที่ http://et313.blogspot.com/2013/01/blog-post.htmlเลยนะคะ

ต่อไปก็ได้เวลาผลิตสื่อให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างกันแล้วค่ะ  อันดับแรกเลยเบียร์ก็ลงมือวาดการ์ตูนก่อนเลยค่ะ  อย่างที่ได้บอกไปในวิธีการผลิต  เบียร์ขอใช้ Micromedia flash วาดนะคะ  เบียร์รู้สึกชอบวาดรูปจากโปรแกรมนี้ค่ะ รู้สึกว่าเราสามารถกำหนดเส้นและสีมันได้อิสระดี   แล้วภาพก็ออกมาน่ารักด้วยค่ะ ถึงแม้ฝีมือจะขั้นเด็กอนุบาล แต่โปรแกรมนี้ก็ช่วยให้ภาพดูดีได้เยอะค่ะ เบียร์วาดเองทุกอย่างเลยค่ะ ยกเว้นตัว CPU กับ ROM ค่ะ  เพราะรู้สึกว่าวาดออกมาแล้วเดี๋ยวเด็กจะไม่เข้าใจค่ะว่านี่มันตัวอะไรเนี่ย ขนาดตัวเองตัวแล้วยังแอบคิดในใจเลยค่ะว่านี่มัน Rom หรือไม้บรรทัด  55+  เลยขอใช้ภาพของจริงดีกว่าค่ะ ^^
 
หลังจากที่เราได้วาดภาพอุปกรณ์และตัวการ์ตูนต่างๆไปจนครบแล้วนะคะ  เบียร์ก็ลองจัดวางรูปภาพ เนื้อหา สื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้โปรแกรม
Adobe Photoshop CS5  ค่ะ  ตอนแรกเบียร์ก็ลองเอาลงแบบคร่าวๆก่อนนะคะว่าหน้าไหนจะใส่อะไรลงไปดี  ทำเหมือนเป็น Story board น่ะค่ะ แล้วก็เอาไปให้อาจารย์ให้เพื่อนช่วยออกความเห็นว่าทำประมาณนี้จะเวิร์คหรือเปล่า  ก็ได้รับคำแนะนำกลับมาปรับปรุงเพิ่มเติมว่าควรจะเพิ่มเติมเกมให้หลากหลาย  เพราะตอนแรกที่เบียร์ทำไปคิดอะไรไม่ออกก็ขอเกมจับคู่ไว้ก่อนแล้วกันมันประเมินผลได้ง่ายที่สุดแล้ว แล้วตรงแบบฝึกหัดท้ายบท ก็รู้สึกว่ามันแลดูเป็นทางการไปสำหรับเด็ก  เบียร์เลยเปลี่ยนเป็นเกมที่ให้แยกอุปกรณ์ใส่กล่องแล้วเรียงลำดับ  เพราะเกมนี้เกมเดียวเราก็สามารถประเมินได้ทั้งหมดแล้วว่าเด็กเข้าใจมั๊ย


ข้อดีของการที่เราทำ story bord คือมันทำให้เราเห็นจุดบกพร่อง และคนอื่นสามารถเข้าใจภาพรวมของงานที่เราจะทำได้ และเราก็จะได้รับคำแนะนำดีจากมุมมองของผู้ชม ว่าควรจะเพิ่มอะไร ทำแบบนี้แล้วน่าสนใจไหม เป็นต้น  พอเราได้รับคำแนะนำแล้วเราก็เอามาแก้ จากนั้นก็ลงมือผลิตจริงเลยค่ะ  อ้อ!!  ข้อดีของการทำ story board อีกข้อนะคะก็คือเวลาเรามาผลิตเราก็แทบไม่ต้องทำอะไรมากเลยล่ะค่ะ  แก้นิดแก้หน่อย  ตกแต่งใส่สี  ก็เอาไปปริ้นได้เลย

พองานถูกผลิตออกมาเป็นสิ่งพิมพ์แล้วนะคะ ก็เริ่มใกล้ความจริงแล้วค่ะ ตัดๆแปะๆ ตกแต่ง ทำเป็น Pop up ให้ดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกนิด ตรงเกมก็จะใช้กาวดินน้ำมันค่ะซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถติดแล้วดึงออกมาได้  อย่างเกมกากบาท หรือเกมจับคู่ทำให้เด็กไม่ต้องเขียนลงไปค่ะ  เด็กสามารถเอารูปมาแปะแล้วดึงออกได้  จะได้ไม่ต้องขีดเขียนลงไปเวลามีเด็กคนอื่นมาเล่นต่อก็เล่นได้ค่ะ

ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้วล่ะค่ะ ขั้นตอนต่อไปก็คือการเข้าเล่มค่ะ อันนี้เบียร์เข้าเล่มเองค่ะ  โดยใช้วิทยายุทธ์  ไม่ใช่ค่ะ  แนวคิดจากตอน ม.ปลาย  อาจารย์ที่สอนคอม(ครูคอมทำได้ทุกอย่างจริงๆ อิอิ) ได้สอนเบียร์เข้าเล่มแบบวิทยานิพนธ์  เบียร์ก็เอามาประยุกต์ค่ะ (ประยุกต์มากไปหน่อย  ^^) เบียร์เลือกใช้กาว 2 หน้าค่ะ  ความจริงเค้าต้องใช้กาวลาเท็กซ์อัดตรงสันมัน แต่เบียร์กลัวว่าสีตรงสันมันจะละลาย แล้วระหว่างหน้าเบียร์ก็ได้ใช้กาว 2 หน้า แปะลงไป คิดว่ามันก็น่าจะแข็งแรงพอ เลยไม่ได้ใช้กาวอัดตรงสันมัน พอทำออกมาก็คิดว่าโอเคนะคะ

 ดูเหมือนจะเสร็จแล้ว  แต่ยังค่ะ พอดีมันมีเกมประกอบด้วย ซึ่งมันเป็นกล่องเล็กๆ 3  กล่องค่ะ ถ้าจะส่งไปแบบนี้เลยก็กลัวว่ามันจะหาย เดี๋ยวเด็กไม่มีเล่น  เลยทำเป็นแพ็คเกจ พูดให้ดูหรูความจริงก็คือกล่องแหละค่ะ  เอามาเก็บให้มันอยู่ด้วยกัน  โดยเบียร์จะใช้กล่อง Dubble  A กล่องที่เค้าใส่กระดาษ A4 น่ะค่ะ จะเอามาใส่เลยก็กระไรอยู่เพราะสื่อเรามันก็ไม่ได้เยอะขนาดนั้น เลยเอามาตัดในขนาดที่คิดว่าโอเค  สามารถใส่ทุกอย่างลงไปได้หมด  จากนั้นก็ตกแต่งนิดหน่อยด้วยการห่อด้วยกระดาษสี  เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ ^^



วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

Process&method to design

  กระบวนการและวิธีการที่ใช้ในการออกแบบ


หลังจากที่เราได้วิเคราะห์/ออกแบบสื่อการสอนรายบุคคล กันไปแล้ว ซึ่งสามารถตามไปดูกันได้ตามลิงค์นี้ ได้เลยค่ะ   http://et313.blogspot.com/2013/01/instruction-design-printed-material.html

ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็น กระบวนการและวิธีการที่ใช้ในการออกแบบ  ซึ่งจากการที่ได้วิเคราะห์และออกแบบสื่อการสอนรายบุคคลไปนั้น เราจะใช้วิธีการทำออกมาในรูปแบบของ บทเรียนสำเร็จรูป (Instructional Program) โดยจะออกแบบในลักษณะของบทเรียนโปรแกรมแบบเส้นตรงรวมกับแบบสาขา (Combination of the two types) ดังรูปเลยค่ะ




ซึ่งจากแผนผังข้างต้นก็ขออธิบายให้เห็นภาพอย่างคร่าวๆนะคะ
1.เปิดมาหน้าแรกเลยเราจะบอกวัตถุประสงค์กับผู้เรียนก่อนว่าเรียนแล้วจะต้องสามารถอธิบายหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และจำแนกประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตามหลักการทำงานเบื้องต้นได้

2.ต่อไปก็จะเป็นการเกริ่นนำเข้าสู่เรื่องโดยการแนะนำให้รู้จักกับคอมพิวเตอร์พิวเตอร์ก่อน ว่าคอมพิวเตอร์คืออะไร   

3.ขั้นต่อไปก็จะเป็นการให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้เบื้องต้นก่อนที่จะเรียนค่ะ  โดยจะนำภาพอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลักๆ มาให้ผู้เรียนจำแนกค่ะ โดยจะทำเป็นเกมให้ผู้เรียนดูภาพอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  แล้วนำมาเขียนลงในกล่องด้านล่างซึ่งจะมี 3 กล่อง คือ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ประมวลผล และ อุปกรณ์แสดงผล โดยให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนว่าอุปกรณ์ใดควรอยู่ในหมวดไหน และจะมีเฉลยอยู่ด้านหลังภาพซึ่งสามารถเปิดปิดได้ ว่าอุปกรณ์ชนิดนั้นคืออุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหมวดใด เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นขนาดไหน และสามารถนำไปใช้เปรียบเทียบพัฒนาการการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนได้

4.หลังจากที่ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนไปแล้ว ก็จะเป็นการเข้าสู่เรื่องที่จะสอนโดยจะสอนให้เห็นภาพรวมการทำงานของคอมพิวเตอร์ก่อนซึ่งจะทำเป็นแผนภาพแสดงกระบวนการทำงานเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย
  
5.จากนั้นก็จะแยกสอนเป็นเรื่องๆ คือ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ประมวลผล และ อุปกรณ์แสดงผล โดยจะใช้รูปภาพประกอบทำแบบเปิดปิดได้ และเขียนคำอธิบายหน้าที่ไว้ด้านหลังของอุปกรณ์

6.หลังจากเรียนเสร็จจะมีแบบฝึกหัดให้ทำ เป็นเกมเติมคำโดยจะให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาแล้วให้ผู้เรียนเขียนบอกใต้ภาพว่าคืออุปกรณ์ชนิดใด และจะมีเฉลยเกมอยู่ใต้ช่องที่เขียนตอบเป็นแผ่นป้ายให้เลื่อนออกมาดูหลังจากที่ตอบไป เพราะจะสามารถทำให้ผู้เรียนรู้ได้ทันทีว่าเข้าใจถูกหรือผิด เมื่อผิดเขาก็จะได้รีบกลับไปเปิดดูคำตอบที่ถูก และทำความเข้าใจว่าผิดอย่างไร

7.สรุปบทเรียน


8.ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยจะทำเป็นสองลักษณะคือแบบปรนัยและอัตนัย


วิธีการผลิตบทเรียนสำเร็จรูป “สำรวจโลกคอมพิวเตอร์”
1. หาข้อมูล
2. วาดรูปภาพอุปกรณ์ และตัวการ์ตูนในโปรแกรม Macromedia Flash 8
3. จัดวางรูปภาพ เนื้อหา สื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS5
4. ปริ้นรูปภาพและเนื้อหาทั้งหมดออกมา
5. จัดทำเป็นรูปเล่ม และตกแต่งส่วนที่เปิดปิดได้

อ้างอิง  เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ET313 การสอนรายบุคคล

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

Analysis of the Individualized Instruction (Printed Material)

หลักการวิเคราะห์ ออกแบบสื่อการสอนรายบุคคล(สื่อสิ่งพิมพ์)

ก่อน อื่นต้องขอบอกก่อนนะคะว่าเบียร์เป็นคนที่ใฝ่ฝันว่าอยากเป็นครูมาตั้งแต่ เด็ก  ตอนเด็กๆก็เลยชอบเล่นครูนักเรียนค่ะ  แต่ไม่เคยรู้หลักการหรอกนะคะ  ว่าการที่เราจะสอนออกมาให้มีประสิทธิภาพแล้วก็ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนน่ะต้องทำยังไง ตอนนั้นก็ทำเพื่อตอบสนองความต้องการ(เล่น)ของผู้สอนแหละค่ะ 555+ แต่พอได้มาเรียนครูแล้วทำให้เราได้รู้อะไรมากขึ้น  มันทำให้เรารู้ว่าก่อนที่เราจะออกไปสอนเด็กเราจะต้องวางแผนการสอน ต้องวิเคราะห์เด็ก เด็กวัยนี้ชอบอะไรยังไง เราจะออกแบบการสอนแบบไหน ??




วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Analysis of the Individualized Instruction (Digital media)


หลักการวิเคราะห์ ออกแบบสื่อการสอนรายบุคคล(สื่อดิจิตอล)

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะคะว่าเบียร์เป็นคนที่ใฝ่ฝันว่าอยากเป็นครูมาตั้งแต่เด็ก  ตอนเด็กๆก็เลยชอบเล่นครูนักเรียนค่ะ  แต่ไม่เคยรู้หลักการหรอกนะคะ  ว่าการที่เราจะสอนออกมาให้มีประสิทธิภาพแล้วก็ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนน่ะต้องทำยังไง ตอนนั้นก็ทำเพื่อตอบสนองความต้องการ(เล่น)ของผู้สอนแหละค่ะ 555+ แต่พอได้มาเรียนครูแล้วทำให้เราได้รู้อะไรมากขึ้น  มันทำให้เรารู้ว่าก่อนที่เราจะออกไปสอนเด็กเราจะต้องวางแผนการสอน ต้องวิเคราะห์เด็ก เด็กวัยนี้ชอบอะไรยังไง เราจะออกแบบการสอนแบบไหน ??